เมื่อมาราธอนกลายเป็นกีฬายอดฮิต การดูถ่ายทอดสดการแข่งขันวิ่งทางไกลกลายมาเป็นสิ่งที่คนเฝ้ารอและพร้อมจะจดจ่ออยู่หน้าจอตลอดระยะทาง 42.195 กิโลเมตร ทำให้กระแสการวิ่งไม่ได้เป็นแค่การซ้อมเพื่อลงสนามประจำวันอาทิตย์อีกต่อไป แต่กำลังหมายถึงความคลั่งไคล้ในกีฬาวิ่งอย่างถึงที่สุด แต่เราจะดูกีฬาอย่างสนุกก็จำเป็นต้องเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสนาม และคำศัพท์ต่างๆของนักวิ่งก็มีให้ทำความเข้าใจกันเยอะพอสมควร วันนี้ TheFinisher.co ได้รวมคำศัพท์ที่จำเป็นสำหรับการดูการแข่งขัน วิ่งมาราธอน มาให้อย่างจุใจ เพื่อการรับชมกีฬาประเภทนี้ได้อย่างสนุกและทำความเข้าใจการวิ่งของคุณเองได้มากขึ้นด้วย
คำศัพท์ | ความหมาย |
---|---|
k | กิโลเมตร |
1,000 เมตร | 1 กิโลเมตร |
5 กิโลเมตร (Fun Run) | 3.1 ไมล์ , 5,000 เมตร |
10 กิโลเมตร (Mini Marathon) | 6.2 ไมล์ , 10,000 เมตร |
21.1 กิโลเมตร (Half Marathon) | 13.1 ไมล์ |
42.195 กิโลเมตร (Marathon) | 26.2 ไมล์ |
รอบสนามวิ่งมาตรฐาน 1 รอบ | 400 เมตร |
1 ไมล์ | 1.6 กิโลเมตร |
Ultra marathon | ระยะทางมากกว่ามาราธอน (42.195 กิโลเมตร) แต่โดยทั่วไปหมายถึงการแข่งขัน 50 กิโลเมตร หรือมากกว่า |
50 กิโลเมตร (Ultra Marathon) | 31.1 ไมล์ |
ไตร / ไตรกีฬา (Tri / Triathlon) | การแข่งขันซึ่งประกอบไปด้วยการว่ายน้ำ การขี่จักรยาน และการวิ่ง |
Fartlek | โปรแกรมการวิ่งช้าสลับเร็ว เป็นภาษาสวีเดน ในภาษาอังกฤษคือ Speed Play เป็นการวิ่งใช้ความเร็วไปตามเส้นทางภูมิประเทศ |
LSD (Long Slow Distant) | การฝึกวิ่งระยะทางไกล ๆ ในความเร็วที่วิ่งได้สบายๆ หรือวิ่งช้า (easy pace) วิ่งไปจนจบครบระยะทางหรือเวลาที่กำหนด |
Negative Splits | การวิ่งที่ครึ่งหลังเร็วกว่าครึ่งแรก โดยทั่วไปใช้ในระยะมาราธอน |
Taper | การลดตารางซ้อมลงทีละน้อยเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนวันแข่ง |
Tempo | การวิ่งด้วยความเร็วอย่างต่อเนื่องนานกว่า 20 นาทีขึ้นไป ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ระหว่างวิ่งยังสามารถพูดได้เป็นคำๆ โดยทั่วไป HR จะอยู่ที่ประมาณ 80-85% |
Speedwork | โปรแกรมการฝึกความเร็วชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังขา ความแข็งแรง เพิ่มความมั่นใจในการฝึกให้วิ่งเร็วขึ้น |
Intervals | เทคนิคการฝึกวิ่งเพื่อเพิ่มความเร็ว โดยการวิ่งเร็วในระยะทางที่สั้นและพักหรือจ๊อกสลับกันไป |
CR (Course Record) | สถิติในสนามแข่ง |
WR (World Record) | สถิติโลก |
PR (Personal Record) / PB (Personal best) | เวลาที่ดีที่สุดของตัวเอง |
IAAF (International Association of Athletics Federations) | สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ |
DNF(did not finish) | ไม่จบ |
DNS (did not start) | ไม่ได้เริ่ม |
Pace | เวลาที่ใช้ในการวิ่งใน 1 กิโลเมตร หรือ 1 ไมล์ |
DOMS (Delayed onset muscle soreness) | อาการปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย |
ITB (iliotibial band) | แถบเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอกจากสะโพกลงมาถึงหัวเข่า |
Heart rate (HR) | อัตราการเต้นของหัวใจ |
Resting Heart Rate (RHR) | อัตราการเต้นของหัวใจเมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าก่อนลุกออกจากเตียง |
Maximum Heart Rate (MHR) | อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด |
Aerobic | การใช้ออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงาน |
VO2 max | ปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดที่ร่างกายสามารถใช้ในระหว่างการทำกิจกรรม |
Endurance | ความทนทาน ความอดทน |
Cadence | รอบขา (จำนวนก้าว / 1 นาที) |
Glycogen | รูปแบบการจัดเก็บน้ำตาลกลูโคส ที่สะสมในตับและกล้ามเนื้อ |
Stretching | การยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ทำทั้งก่อน และหลังวิ่ง |
Dynamic stretching | การยืดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหวก่อนวิ่ง |
Static stretching | การยืดกล้ามเนื้อแบบคงที่ค้างไว้ในท่าที่ต้องการ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 15-20 วินาที / ท่า |
Weight training / Strength training | การออกกำลังกายที่เน้นการพัฒนาความแข็งแรงและขนาดของกล้ามเนื้อ |
Core / Core training | การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว |
Zone 2 | การรักษาอัตราการเต้นของหัวใจภายใน Zone 2 สำหรับการวิ่งช้า |
Warm up | การอุ่นเครื่องก่อนวิ่ง โดยเดินอย่างน้อย 2-5 นาทีก่อนเริ่มวิ่งช้าๆเพื่ออุ่นเครื่องและคลายกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย |
Cool down | การทำให้เย็นลง โดยการค่อยๆลดความเร็วลงเรื่อยๆหลังจากวิ่งเสร็จหลังจากนั้นจึงเดิน เพื่อทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง |
Strides | แบบฝึกสำหรับฝึกควบคุมการระเบิดของการวิ่ง (หัดเร่งเครื่อง) ประมาณ 50-150 เมตร ทำก่อนวิ่งและในบางครั้งทำตอนท้ายของการวิ่ง |
Running economy | ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในการวิ่ง |
Rest day | วันพัก |
Base training / Running base | การสร้างฐานการวิ่งและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ |
Overtraining | การฝึกที่มากหรือหนักเกินไป |
Chip / net time | เวลาส่วนตัวที่บันทึกในตัวจับเวลาจะเริ่มบันทึกเมื่อเราวิ่งผ่านจุดปล่อยตัว |
Gun time | เวลาส่วนตัวที่บันทึกในตัวจับเวลาจะเริ่มบันทึกเมื่อถึงเวลาปล่อยตัว |
Pacer | ผู้ช่วยที่จะช่วยให้คุณวิ่งเข้าเส้นชัยได้ตามเวลาเป้าหมาย |
Foot strike | ตำแหน่งของเท้าที่ลงสู่พื้นตำแหน่งแรก เช่น หน้าเท้า ข้างเท้า กลางเท้า ส้นเท้า |
Bib | ป้ายชื่อและเลขประจำตัวนักกีฬา ติดไว้ด้านหน้าเสื้อเพื่อให้สังเกตเห็นได้ชัดขณะแข่งขัน |
GPS | ระบบติดตามตำแหน่ง ความเร็ว และเวลา ที่ใดก็ได้ทั่วโลก |
Garmin | บริษัททำนาฬิกา GPS ที่ได้รับความนิยมจากนักวิ่ง |
Strava | แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการบันทึกเวลา ความเร็ว ระยะทาง |
World Marathon Majors | สนามมาราธอนโลก มีทั้งหมด 6 สนาม โตเกียวมาราธอน, มาราธอนลอนดอน, บอสตันมาราธอน, มาราธอนเบอร์ลิน, ชิคาโกมาราธอน, นิวยอร์คมาราธอน |
Elite Runnner | นักวิ่งมืออาชีพ |
Eliud Kipchoge (เอเลียด คิปโชเก้) | นักวิ่งทางไกล เจ้าของสถิติโลกระยะมาราธอน 42.195 กม. ด้วยเวลา 2:01:39 ชม. สนามเบอร์ลิน มาราธอน 16 กันยายน 2018 |